Basal Body Temperature BBT ปรอทวัดอุณหภูมิ เพื่อหาวันตกไข่ ฟรี กราฟพล็อทอุณภูมิ
Basal Body Temperature (BBT) คือ อุณหภูมิของร่างกายขณะตื่นนอนตอนเช้าหลังจากนอนหลับสนิทติดต่อกัน นานอย่างน้อย 5 ชั่วโมง และก่อนที่จะมีกิจกรรมใดๆ ทั้งสิ้น เช่น การลุกจากที่นอนรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม และแม้แต่การพูดจา
ปรอทที่ใช้วัดอุณหภูมิ (Thermometer):
อาจใช้ปรอทที่ใช้วัดไข้กันอยู่ทั่วไป หรืออาจใช้ปรอทชนิด basal thermometer ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันในกลุ่มสตรี
ที่กำลังรักษาการมีบุตรยาก ทั้งนี้ ลักษณะปรอทที่ใช้วัด
– ปรอทควรมีทศนิยม 2 ตำแหน่ง เพื่อให้เห็นความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างชัดเจน (กรณีปรอทมีทศนิยม
1 ตำแหน่งก็พอใช้ได้ค่ะ แต่อาจเห็นความแตกต่างไม่ชัดเจนมากนัก)
– หากวัดผลเป็นหน่วยฟาเรนไฮต์ก็จะระบุการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายและชัดเจนมากกว่าองศาเซลเซียส ยกตัวอย่างเช่น
การเปลี่ยนแปลงที่ 0.2 องศาเซลเซียส จาก 35.00 º C เป็น 35.20 º C (จะเท่ากับการเปลี่ยนแปลงองศาฟาเรนไฮต์ที่
95.00 º F เป็น 95.36 º F) แต่อย่างไรก็ตาม ปรอทที่วัดผลเป็นหน่วยฟาเรนไฮต์หรือองศาเซลเซียส ก็ใช้ได้ผลเท่ากัน
การเตรียมและการใช้ปรอท :
ควรเตรียมปรอทที่สะอาดและวางปรอทไว้ใกล้ๆ ตัว ทุกคืน และพร้อมที่จะหยิบใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องลุกจากที่นอน
เพื่อว่าในตอนตื่นเช้าจะใช้ได้ทันที
การวัดสามารถวัดได้หลายทาง เช่น ปาก รักแร้ ทวารหนัก ช่องคลอด ทั้งนี้การสอดใต้ลิ้นจะสะดวกที่สุด
เวลาที่จะวัดอุณหภูมิของร่างกาย :
อุณหภูมิของร่างกายของคนๆ เดียวกัน จะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา กล่าวคือ ถ้าวัดอุณหภูมิค่อนข้างเช้าจะได้อุณหภูมิต่ำ
แต่ถ้าวัดช่วงสายจะได้ อุณหภูมิสูงขึ้น โดยปกติจะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกาย 0.1 º C ต่อจำนวนชั่วโมงที่ต่างกัน
เช่น รายหนึ่งวัด BBT เวลา 6.00 น. ก็อาจจะได้ 36.40 º C (97.52 º F ) และในรายเดียวกันวัดที่เวลา 7.00 น. ก็อาจจะได้
36.50 º C (97.70 º F ) เมื่อเป็นเช่นนี้เวลานำเอาไปพล็อตกราฟ จะทำให้ผลที่ได้ผิดพลาดไป ดังนั้น ควรวัดเวลาเดียวกันทุกวัน
สำหรับเวลาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคลก็ควรเป็นเวลาที่ผู้นั้นมักตื่นนอนตอนเช้าเป็นประจำ โดยทั่วไปถือว่า เวลา 6.00 น.
เป็นเวลาที่เหมาะสม
การแปลผลจากกราฟ :
ต้องวัด BBT ทุกวัน และนำมาพล็อตกราฟ แล้วแปลผล โดยเริ่มวัดตั้งแต่วันที่มีประจำเดือนวันแรกไปจนวันแรกของการมี
ประจำเดือนในรอบถัดไป โดยลักษณะกราฟจะแบ่งเป็น 2 ช่วงอย่างชัดเจน ได้แก่
– ช่วงก่อนตกไข่ (Pre-Ovulatory) ซึ่งเริ่มต้นจากที่มีประจำเดือนวันแรก ไปจนถึงก่อนการตกไข่ ช่วงนี้จะมีระดับ
ฮอร์โมน Estrogen เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลให้ ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อมีการตกไข่ จะมีระดับฮอร์โมน
Estrogen สูงที่สุด ดังนั้นอุณหภูมิของร่างกายจึงลดต่ำสุด
– ช่วงหลังตกไข่ (Post-Ovulatory ) ช่วงที่มีการตกไข่ไปแล้ว ฮอร์โมน LH ยังคงสร้าง Estrogen อยู่บ้างแต่ไม่มากนัก
แต่ที่สำคัญคือการสร้างฮอร์โมน Progesterone ซึ่งมีผลทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น และสูงถึงประมาณ 37.00 -37.20 º C
(98.60-98.96 º F )ในระยะเวลา 7-9 วันหลังการตกไข่และค่อยๆ ลดลง และมีประจำเดือนออกมา
สตรีที่มีการตกไข่ จะมีความแตกต่างของอุณหภูมิในช่วงก่อนตกไข่ (Pre-ovulatory) และช่วงหลังตกไข่ (Post-Ovulatory )
ไม่น้อยกว่า 0.3-0.5 º C (0.6-1.0º F )
ตัวอย่าง กราฟอุณหภูมิร่างกายของผู้หญิงมีรอบประจำเดือน 28 วัน เราสามารถแปลผลจากกราฟได้ดังนี้
– วันที่ 1- 13 อุณหภูมิร่างกายจะมีระดับต่ำ ซึ่งเป็นช่วงก่อนการตกไข่
– วันที่ 14 ซึ่งเป็นวันที่ตกไข่ สังเกตจากอุณหภูมิร่างกายจะลดต่ำสุดและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในวันถัดไป
– ตั้งแต่วันที่ 15 เป็นต้นไปจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นช่วงที่มีการตกไข่ไปแล้ว และในวันที่ 28 อุณหภูมิ
จะลดต่ำอีกครั้งเมื่อเริ่มมีประจำเดือนในรอบถัดไป
ข้อแนะนำ :
– จากกราฟ การตกไข่ คือ วันที่ 14 ดังนั้น ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วงวันที่ 12-15 จะมีโอกาสตั้งครรภ์สูง
ควรเผื่อเวลาให้อสุจิเดินทาง อย่างน้อย 6 ช.ม.
– การวัด BBT ควรทำล่วงหน้าติดต่อกันอย่างน้อย 2-3 เดือน จึงจะช่วยให้สามารถดูแนวโน้มและประมาณวันตกไข่
พร้อมทั้งกำหนดวันมีเพศสัมพันธ์ได้ค่อนข้างแม่นยำ
– การใช้วิธีวัด BBT จะใช้หลักการว่า การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิพื้นฐานของร่างกายนั้น ชี้ว่าการตกไข่ได้เกิดขึ้นแล้ว
(ต้องทำติดต่อกันหลายเดือน จึงจะเริ่มรู้แนวโน้มและประมาณวันตกไข่ล่วงหน้าได้) แต่การใช้ชุดทดสอบการตกไข่
(LH ovulation test) จะบอกว่าการตกไข่กำลังจะเกิดขึ้น ดังนั้น หากใช้ชุดทดสอบการตกไข่ควบคู่กับการวัด BBT
จะช่วยให้ตรวจหาวันตกไข่ ได้ความแม่นยำมากขึ้น
– นอกจากการใช้ชุดทดสอบการตกไข่ช่วยในการหาวันไข่ตกแล้ว การตรวจสอบลักษณะของมูกที่บริเวณปากมดลูกก็เป็น
วิธีหนึ่งที่ทำควบคู่กันกับการวัดอุณหภูมิ BBT เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการหาวันตกไข่ได้ค่ะ
การประยุกต์เพื่อตรวจสอบการตั้งครรภ์ :
กรณีที่หากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้นระดับ Progesterone จะเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นอยู่ตลอดไป นั่นคือ ถ้าอุณหภูมิสูงอยู่
เช่นนี้เกิน 20 วัน หลังจากมีไข่ตก ก็แสดงว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแล้ว การตรวจสอบด้วยวิธีนี้ให้ความแม่นยำพอสมควร
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์